10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2548
ไฟฟ้าจากแม่เมาะ คือต้นทุนสุขภาพราคาแพงของชาวบ้าน

เส้นทางการต่อสู้ของชาวแม่เมาะปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและต่อสิ่งแวดล้อมจากผลการก่อสร้างเหมืองขุดถ่านหินเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าณอำเภอแม่เมาะจังหวัดลำปางสามารถสืบย้อนถอยกลับไปได้ตั้งแต่ปี 2497  การก่อสร้างครั้งนั้นทำให้ชาวบ้านกว่า 30,000 คนต้องอพยพโยกย้ายจากแหล่งที่อยู่เพื่อก่อสร้างเหมืองชาวบ้านที่ยังอยู่รอบบริเวณเหมืองก็ต้องเผชิญกับมลพิษจากฝุ่นละอองเถ้าของถ่านหินแหล่งน้ำปนเปื้อนไปด้วยสารพิษตะกั่วแคดเมียมทองแดงและนิกเกิล

วิกฤติการณ์น้ำมันในปี 2515 ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงจากการเผ่าถ่านหินลิกไนต์จำนวน 3 หน่วยขึ้นที่อำเภอแม่เมาะ และในอีก 3 ปีต่อมาก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากหน่วยผลิตแรกได้ ไม่นานก็ขยายหน่วยการผลิตออกไปอีกถึง 11 หน่วย  

ตุลาคมปี 2535 เกิดปรากฏการณ์ “ฝนกรด” กระจายฟุ้งรอบๆบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกรัศมีประมาณ 7 กิโลเมตรพากันล้มหมอนนอนเสื่อมีอาการหายใจไม่สะดวกคลื่นไส้วิงเวียนศีรษะเคืองตาและจมูกส่วนในเด็กผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและภูมิแพ้จะมีอาการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลันไร่นากว่าครึ่งเสียหายย่อยยับวัวควายและสัตว์เลี้ยงอื่นๆของชาวบ้านเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก

ภาวะ “ฝนกรด”เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำมีความชื้นค่อนข้างสูงและมีส่วนผสมของกรดกำมะถันเมื่อนำไปเผาไฟจึงก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมาก

ปัญหาที่พบก็คือโรงไฟฟ้าไม่ลงทุนติดตั้งระบบกำจัดก๊าซเพียงใช้ความสูงของปล่องระบายอากาศเสียออกสู่บรรยากาศชั้นบนเพื่อเจือจางกับอากาศบวกกับที่ตั้งของโรงไฟฟ้าอยู่ท่ามกลางวงล้อมของหุบเขาทำให้ก๊าซไม่สามารถระบายออกไปไหนได้ยิ่งในฤดูหนาวมลพิษกลับลอยต่ำเหนือยอดหญ้าแพร่กระจายไปรอบๆบริเวณใกล้เคียง

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจึงรวมตัวเรียกร้องสองข้อหลักๆคือให้รัฐบาลและกฟผ.อพยพโยกย้ายชาวบ้านออกไปจากพื้นที่เสี่ยงภัยและในกลุ่มผู้ป่วยให้จ่ายค่าชดเชย

กฟผ.ยอมจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ป่วยในรายละ 5,000 บาทและผู้ป่วยนอกรายละ 1,000 บาทพร้อมค่าเสียโอกาสในการทำงานให้อีกคนละ 100 บาทต่อวันรวมเป็นเงิน 9 ล้านบาท

กฟผ.แก้ปัญหา “ฝนกรด” ในรอบแรกนี้โดยติดตั้งเครื่องดักก๊าซในหน่วยที่ 4-11 ปิดหน่วยผลิตเก่า 1-3 และสร้างหน่วยผลิตใหม่ที่ 11-13เพิ่มซึ่งเดินเครื่องใช้งานในปี 2538 แต่ก็ซ้ำรอยเดิม “ฝนกรด” กลับมาทำร้ายสุขภาพของชาวบ้านอีกครั้งครั้งนี้กฟผ.ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินชดเชยอีกกว่า 30 ล้านบาทให้ชาวบ้าน

ปัญหา “ฝนกรด”

ในรอบที่สองนี้ทำให้กฟผ.เร่งระดมติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซจนครบทุกหน่วยผลิตในปี 2543 ควบคู่ไปกับมาตรการอื่นๆเช่นลดกำลังการผลิตในช่วงฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศปิดเพื่อลดปริมาณฝนกรดสั่งซื้อถ่านหินคุณภาพดีจากเอกชนมาผสมเพื่อลดกรดกำมะถันและติดตั้งระบบฉีดพรมน้ำและม่านดักฝุ่นยาวประมาณ 800 เมตรเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333