10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2546
วัยรุ่นกับถุงยางและภัยเอดส์

ระหว่างที่โลกยัง “งมเข็ม”ทดลองหาวัคซีนป้องกันเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ปลายปี 2546 องค์กรยูเอ็นเอดส์ประกาศตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกว่ามีสูงถึง 5 ล้านคนเฉลี่ยเท่ากับ 5 วินาทีจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 รายมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกเพราะเอดส์ 3 ล้านคนและมีผู้ป่วยสะสมรวม 40 ล้านคน

ปัญหาเอดส์สร้างความตื่นตัวต่อประชาคมโลกหาทางทั้งป้องกันและหยุดยั้งการระบาดเพื่อลดความสูญเสียชีวิตทรัพย์สินและโอกาสทางสังคมการประชุมเอดส์นานาชาติครั้งที่ 15 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นตัวแทนจากทวีปเอเซียจัดประชุมเอดส์โลกต้อนรับผู้ร่วมประชุมจากทั่วโลกกว่า 20,000 คนระหว่างวันที่ 11-16กรกฎภาคม 2547 นี้

ประเทศไทยได้รับคำยกย่องจากชาวโลกว่าสามารถควบคุมการระบาดของโรคเอดส์ได้ดีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงตลอดมาแต่จำนวนการติดเชื้อรายใหม่ก็ยังคงสูงกว่า 20,000 รายต่อปีปัจจุบันไทยมีผู้ติดเชื้อเอดส์สะสมแล้วกว่าหนึ่งล้านคนยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 650,000 คนและในกลุ่มผู้ติดเชื้อจะทยอยป่วยเป็นโรคเอดส์มากกว่า 50,000 รายต่อปี

ตัวเลขนี้นายแพทย์วิวัฒน์โรจนพิทยากรผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกประจำประเทศมองโกเลียมองว่าไทยเรายังแก้ไขปัญหาชะลอการระบาดไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ“ผมไม่อยากให้รัฐบาลปลื้มกับคำยกย่องเราควรฉวยโอกาสช่วงที่เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอดส์โลกดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น”

สถานการณ์เอดส์ เพศสัมพันธ์ และการใช้ถุงยาง

สถิติจากกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขระบุว่าในสถานบริการทางเพศนักเที่ยวชายใช้ถุงยางถึงร้อยละ 97 แต่ตัวเลขการใช้นอกสถานบริการมีเพียงร้อยละ 24 ที่น่าตกใจคือปี 2546 พบตัวเลขผู้ติดเชื้อร้อยละ 80 ไม่ใส่ถุงยางอนามัยและในกลุ่มผู้ชายรักร่วมเพศใช้ถุงยางไม่ถึงร้อยละ 30

แต่ตัวเลขที่น่ากังวลในเชิงนโยบายจริงๆคือในจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์รายใหม่ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาพบว่าเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอายุ 15-24 ปีและถ้าจับตาเฉพาะกลุ่มอายุ 15-19 ปีพบว่าผู้หญิงติดเชื้อมากกว่าผู้ชายเพราะผู้ชายคือผู้ที่กำหนดและตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่ใช้ถุงยางทั้งนี้วัยรุ่นส่วนใหญ่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333