10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2546
โครงการ 30 บาทแม้มีปัญหา แต่คือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การสร้างระบบ “หลักประกันสุขภาพ” ถือเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องเข้ามาดูแลเพื่อสร้างเสริมสวัสดิการและคุ้มครองให้ประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อความเท่าเทียมกันทางสังคมในเรื่องบริการทางสุขภาพ

ภาครัฐใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องมากกว่าสิบปี เพื่อคิดค้นและจัดหาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับสังคมไทย ก่อนที่จะมี “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค” ได้มีการพัฒนาโครงการประกันสุขภาพมาแล้วหลายๆระบบ แต่กลับปรากฏว่ายังมีคนไทยอีกกว่า 18 ล้านคนหรือเกือบร้อยละ 30 ของคนไทยทั้งหมดทั่วประเทศ ไม่มีระบบประกันสุขภาพใดๆให้กับชีวิต 

พลิกปูมที่มาของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

ย้อนหลังประมาณเดือนตุลาคม 2543 เครือข่ายภาคประชาชน 11 องค์กร ร่วมรณรงค์เพื่อให้รัฐบาลในสมัยนั้นสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พร้อมจัดทำเสนอร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยการรวบรวมรายชื่อจากประชาชนให้ได้ 50,000 ชื่อ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธินำเสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ตรากฎหมายฉบับดังกล่าวขึ้นในปี 2544

ช่วงเวลาเดียวกันนี้ พรรคการเมืองต่างๆกำลังหาเสียงเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทยจึงหยิบยกนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาหาเสียงกับประชาชนภายใต้ชื่อ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค  เมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 นโยบายนี้จึงมีผลนำไปสู่การปฏิบัติ ท่ามกลางแรงสนับสนุนจากทุกๆฝ่าย ไม่มีเสียงวิจารณ์ใดๆเพราะต้องการให้ระบบนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 

เดือนเมษายน 2544 รัฐบาลเริ่มต้นดำเนินโครงการทันที นำร่องก่อนใน 6 จังหวัด ขยายสู่อีก 15 จังหวัดเมื่อเดือนมิถุนายน 2544 และครอบคลุมทั้งประเทศเมื่อเดือนเมษายน 2545    

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สรุปตัวเลขจำนวนเครือข่ายสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบดังกล่าว ณ เดือนกันยายน 2546 แยกเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 822 แห่ง สังกัดหน่วยงานอื่นๆ 73 แห่ง และภาคเอกชนอีก 87 แห่ง รวมทั้งหมด 982 แห่งทั่วประเทศ 

โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคจึงเป็นนโยบายสำคัญทางสุขภาพที่รื้อรากฐานระบบการให้บริการสุขภาพเดิมของประเทศถือเป็นการปฏิรูปการเข้าถึงบริการสาธารณสุขซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพทั้งระบบ

เสียงสะท้อนต่อโครงการและปัญหาที่ปะทุขึ้นในปี 2546

หลังโครงการดำเนินไปได้หนึ่งปีเศษ เสียงสะท้อนจากฝ่ายผู้ให้บริการ หรือบุคลากรสาธารณสุขของรัฐ และฝ่ายที่ต้องประเมินผลโครงการเริ่มปรากฏแพร่หลายสู่สาธารณชน 


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333