10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2562
โรคหัดกลับมา “อุบัติซ้ำ” ในไทย

ข่าวการระบาดของไข้หัดในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เป็นเรื่องวิตกของคนในแวดวงสาธารณสุข เนื่องจากในอดีตสามารถควบคุมได้ดีด้วยการฉีดวัคซีน โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2561 พบว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเด็กป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 800 คน เสียชีวิต 9 คน โดยหลายคนไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน1 จึงเกิดค.ำถามเกี่ยวกับระบบการเบิกจ่ายและการบริหารวัคซีนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดังกล่าว “ไข้ออกผื่น ร่วมกับอาการไอ (Cough) น้ำมูก (Coryza) ตาแดง (Conjunctivitis) หรืออาการ 3C” เป็นคำสำคัญ ที่นักเรียนแพทย์ต้องท่องจำให้ขึ้นใจ เพราะถา้ เจอในขอ้ สอบจะตอบว่าเป็นโรคอื่นไม่ได้นอกเสียจาก ‘โรคหัด (Measles)’ เท่านั้น ต่างจากโรคหัดเยอรมัน (Rubella) ตรงที่อย่างหลังจะไม่มีอาการตาแดง และผื่นจะขึ้นกระจายมากกว่า” โรคหัด เป็นโรคติดเชื้อซึ่งเกิดจากไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายมากทางอากาศ อาการทั่วไปมักมีไข้สูง ร่วมกับอาการไอ มีน้ำมูกและเยื่อตาอักเสบ และจะมีผื่นแดงตามมา อาการที่พบบ่อยของโรคหัด คือ “ไข้ออกผื่น” สิ่งที่ต้องดูแลและเฝา้ ระวงั คอืภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ซึ่งพบได้ถึง 30% และมักเป็นเหตุให้เสียชีวิตตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยและมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วยในปี 2561 ได้เกิดการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างครั้งใหญ่ โดยพบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยโรคหัดจำนวนทั้งสิ้น 4,450 ราย ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดในประเทศและมีผู้เสียชีวิตถึง 23 ราย จึงเกิดคำถามเกี่ยวกับระบบการจัดหาวัคซีน การกระจายวัคซีนที่เหมาะสมสำหรับกรณีเกิดโรคระบาด และการประสานงานของหน่วยงานระดับต่างๆ ในการบริหารจัดการวัคซีน บทความนี้เป็นการทบทวนสถานการณ์ระบาดของโรคหัดที่เกิดขึ้นเพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงและเป็นการถอดบทเรียนระบบการจัดหาและกระจายวัคซีนโรคหัดของไทย


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333