บทความสั้น
ส่งเสริมการบริโภค โลกยั่งยืนด้วย
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | มกราคม 2567

“ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์” คือ การแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) ตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ แสดงผลอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 154 โครงการขององค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. โดยในประเทศไทย มีการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 5 กลุ่ม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่องค์กร ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงบุคคล ได้แก่

    ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon footprint of product) ที่แสดงถึงปริมาณคาร์บอนที่เกิดในกระบวนการผลิตตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนถึงการขนส่งสินค้า 
  

    คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร(Carbon Footprint for Organizations/Corporate Carbon Footprint: CCF) ซึ่งเป็นฉลากรับรองข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงานและกิจกรรมในทางตรงและทางอ้อมขององค์กรใน 1 ปี


    ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อน ที่แสดงว่าผลิภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามที่กำหนด

    ฉลากคูลโหมด (Cool mode) ที่ให้สำหรับผลิตภัณฑ์และเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติในการซับเหงื่อและระบายอากาศได้ดี โดยสามารถใส่ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด

    และกลุ่มสุดท้าย คือ ฉลากคาร์บอนออฟเซ็ตและฉลากนิวทรัล (Carbon offset/Carbon Neutral) ที่รับรองให้กิจกรรมที่มีการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยกับกิจกรรมที่ปล่อยออกไปหรือชดเชยทั้งหมดจนมีค่าคาร์บอนเท่ากับศูนย์ 

    เราจะเห็นได้ว่า “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์” มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงความใส่ใจของผู้ผลิตต่อปัญหาโลกร้อน สนับสนุนองค์กรที่มีการใช้คาร์บอนน้อยลง และส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนในกลุ่มผู้บริโภคที่ตระหนักถึงผลของการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้หลายๆ องค์กรหันมาใส่ใจและหาหนทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือมีการใช้คาร์บอนเครดิตกันมากขึ้น ประเทศไทยก็จะเข้าใกล้เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333