บทความสั้น
“30 บาทพลัส” 5 นโยบายนำร่อง ยกระดับประกันสุขภาพ
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | มกราคม 2567

     

     นโยบายพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีความกลมกลืนกันทุกระบบ โดยเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โดยใช้วิธีการปรับแต่งระบบหลักประกันสุขภาพให้มีความยั่งยืนทางด้านการคลัง รัฐสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ โดยประชาชนได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพอย่างสมเหตุสมผล คือหนึ่งในแนวทางการยกระดับ 30 บาทพลัส ที่เริ่มขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2567

โครงการ 30 บาทพลัส จะเน้นในเรื่อง “ลดความเหลื่อมล้ำในการบริการ” โดยเน้นให้มีหน่วยบริการมากขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย เน้นเรื่อง “ลดความแออัดในโรงพยาบาล” และ “การเข้าถึงบริการ” ไปพร้อมๆกับ “การเพิ่มคุณภาพบริการ” ให้มากขึ้น โดยเห็นได้จาก 5 นโยบายนำร่อง ได้แก่


    “การเข้าถึงบริการด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” โดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้ทุกที่ โดยใช้เทคโนโลยีส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีการส่งตัวเพื่อให้โรงพยาบาลรับส่งต่อจะได้รักษาได้อย่างต่อเนื่อง 
    “เน้นการเข้าถึงบริการในเขตเมืองและเพิ่มจุดบริการ” ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่ด้านการพบแพทย์เพื่อรักษา แต่ยังรวมถึงการรับยา การร่วมมือระหว่างเอกชน อย่างคลินิกกายภาพ หรือ คลินิกทันตกรรม เป็นต้น
    “เพิ่มสถานชีวาภิบาล เพื่อเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยใกล้บ้าน” เมื่อการรักษาดำเนินการมาถึงขั้นที่ผู้ป่วยสามารถพักรักษาตัว หรือพักฟื้นที่บ้านได้แล้ว การดูแลยังคงต้องดูแลโดยมีหลักวิชาการ ดังนั้น การเพิ่มสถานชีวาภิบาลในแหล่งชุมชนที่มากขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงหลักการและการดูแลหลังการพยาบาลที่มากขึ้น
    “การดูแลเรื่องสุขภาพจิตและเพิ่มเครือข่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวช” โดยจะเพิ่มการบริการที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยจะจัดตั้ง “มินิธัญญารักษ์” ทุกจังหวัดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้านจิตเวชและให้การปรึกษาด้านสุขภาพจิต
    และนโยบายสุดท้าย คือ “รักษามะเร็งครบวงจร” ที่ครอบคลุมตั้งแต่การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเด็ก การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และการเข้ารับการรักษา
    จากข้อมูลดังกล่าว หากการนำร่องทดลองไม่เกิดข้อบกพร่อง ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ ได้ครอบคลุมและทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และภาคีเครือข่ายอย่างมากทีเดียว

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333