บทความสั้น
สมุทรปราการ เมืองส่งออกหมอกและควัน
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | ธันวาคม 2566

“จากข้อมูลคุณภาพอากาศและมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในไทยของ Air4thai พบว่า ปี 2566 เป็นปีที่มลพิษทางอากาศและค่า PM 2.5 ปกคลุมประเทศไทยตอนบนตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงอ่าวไทยตอนบนเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก”

จากข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศโลก (World Air Quality Index)  ล่าสุดของการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศทั่วโลก จาก HouseFresh พบว่า จังหวัดสมุทรปราการของประเทศไทย ติดอันดับสภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก โดยใน 1 รอบปี ไม่มีวันที่มี "อากาศดี” หรือ “ไม่มีสักวันที่อากาศดี”

             
การที่จังหวัดสมุทรปราการมีคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ โดยหนึ่งในนั้นคือสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมมากเเละยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีบริการการส่งออกและนำเข้าสินค้าซึ่งใช้ระบบโลจิสติกส์ตลอดเวลา และเมื่อมีโรงงานมากจำนวนประชากร ความแออัด การคมนาคมขนส่งจึงมีมากตามมาด้วย ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีการสันดาปที่ปล่อยฝุ่นควันตัวการในการเกิด PM2.5  ที่เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดมลพิษทางอากาศและหมอกควัน อีกด้วย


มลพิษทางอากาศเเละ PM 2.5 ส่งผลต่อสุขภาพคนสมุทรปราการอย่างไร?… 
มลพิษทางอากาศมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง ก่อให้เกิดกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ กลุ่มโรคตา รวมไปถึงก่อให้เกิดโรคเรื้อรังและโรคมะเร็ง ซึ่งมลพิษทางอากาศยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกไปมากถึง 1 ใน 5 ของสาเหตุการเสียชีวิตอื่นๆ นั่นจึงส่งผลกระทบต่อชาวสมุทรปราการรวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย


จากสาเหตุเเละผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของคนในพื้นที่นั้น ทำให้ตั้งเเต่ปี 2565  จังหวัดสมุทรปราการได้รับการแนะนำจากกรมควบคุมโรคในการดูแลสุขภาพตัวเองในช่วงหมอกควัน โดยให้ยึดหลัก 5 มาตรการ คือ  “หลีก ปิด ใช้ เลี่ยง ลด” นั่นคือ “หลีก” การสัมผัสฝุ่นละออง ในกลุ่มเสี่ยง “ปิด” ประตู หน้าต่างให้มิดชิด “ใช้” หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ “เลี่ยง” การออกกำลังกายหรือทำงานในที่โล่งแจ้ง และ “ลด”การใช้รถยนต์และการเผาขยะ

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333