บทความสั้น
“Blank Guns” ปืนจำลองที่ใช้ก่อเหตุอุกฉกรรจ์จริง?
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | พฤศจิกายน 2566

จากเหตุการณ์เยาวชนอายุ 14 ปี ก่อเหตุกราดยิงกลางห้างสยามพารากอนเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 โดยมีอาวุธปืนที่เรียกว่า “Blank Guns หรือ แบลงค์กัน” เป็นอาวุธที่ใช้ก่อเหตุ ทำให้สังคมไทยตื่นตัวกับประเด็นการครอบครองอาวุธปืนชนิดนี้เป็นอย่างมาก

แบลงค์กัน(Blank Guns) คืออะไร? - แบลงค์กัน คือปืนจำลองที่นำมาดัดแปลงเพื่อให้สามารถบรรจุกระสุนจริงได้ โดยการเปลี่ยนลำกล้อง ดัดแปลงแมกกาซีนจนกลายเป็นอาวุธปืน แต่ตามจริงแล้วในการออกแบบและผลิตปืนแบลงค์กันมีระบบป้องการดัดแปลง จะป้องกันให้ปืนไม่สามารถใช้กระสุนของจริงได้ แต่ในปัจจุบัน แบลงค์กันได้พัฒนามาจาก “ปืนบีบีกัน” ทำให้รูปลักษณ์ภายนอกและหลักการทำงานเหมือนของจริงเกือบ 100% 

เมื่อเป็นปืนจำลอง จึงทำให้แบลงค์กันไม่ผิดกฎหมายและขายได้อย่างเสรี แต่สามารถคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ได้อย่างเสรี...จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบตัวเลขคดีที่ใช้แบลงค์กันก่อเหตุทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนกว่า 200 คดี, ปี 2564 ประมาณ 500 คดี, ปี 2565 กว่า 1,000 คดี และปี 2566 ช่วง 10 เดือนแรกของปี พบว่ามีคดีที่เกิดขึ้นแล้วกว่า 700 คดี ซึ่งพบว่า “อัตราการใช้แบลงค์กันเพื่อก่ออาชญากรรมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี”

ด้วยความที่เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนทำให้ต่างจากอาวุธจริง เวลาจะใช้ก็จะมีกฎหมายบังคับอยู่ด้วย เช่นเรื่องการพกพา การนำพา การใช้งาน ฯลฯ...แต่จากแนวโน้มของคดีที่เกิดจากแบลลงค์กันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการทบทวนอย่างจริงจังว่า กฎหมายมีความรัดกุมเรื่องแบลงค์กันมากแค่ไหน ถึงเวลาที่ต้องออกกฎระเบียบควบคุมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สมรรถนะการครอบครอง อายุ การหาซื้อในสื่อออนไลน์ รวมถึงการเข้าถึงสื่อที่เกี่ยวข้องแล้วหรือยัง เพราะจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นแล้วว่า แบลงค์กันสามารถใช้ก่อเหตุและเกิดความสูญเสียขึ้นจริง

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333