บทความสั้น
สัดส่วนบุคลากรทางจิตเวช ใน 13 เขตสุขภาพ
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | พฤศจิกายน 2566



การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตในประเทศไทย ยังคงเป็นความท้าทาย เนื่องด้วยจำนวนและสัดส่วนของบุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชต่อประชากรในประเทศยังค่อนข้างจำกัด และกระจุกตัวเฉพาะในบางพื้นที่โดยเฉพาะจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่พบว่าในกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนต่อประชากรที่ดีกว่าภูมิภาคอื่น

จากสถิติจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช พ.ศ. 2565 ของกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต พบว่าจาก 13 เขตสุขภาพ เขตที่ 13 หรือเขตของกรุงเทพมหานคร มีจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพจิตมากที่สุดถึง 15.5 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน  โดยแบ่งเป็นจิตแพทย์ 5 คน พยาบาลจิตเวช 4.6 คนและนักจิตวิทยา 5.9 คน


เขตสุขภาพที่ 9 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เป็นเขตสุขภาพที่มีจำนวนบุคลากรสุขภาพจิตและจิตเวชน้อยที่สุด โดยมีบุคลากรด้านสุขภาพจิตเพียง 5.8 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน แบ่งเป็นจิตแพทย์ 0.5 คน พยาบาลจิตเวช 4.3 คนและนักจิตวิทยา 1 คน 


จากข้อมูลดังกล่าว แม้ว่าเขตสุขภาพ เขตที่ 13 หรือกรุงเทพมหานครจะมีอัตราส่วนบุคลากรด้านสุขภาพจิตมากที่สุด แต่ยังถือว่ายังมีบุคลากรด้านนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประชากรและปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบปัญหาการกระจุกตัวในบางพื้นที่อีกด้วย 

   ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2565” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” 
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333