บทความสั้น
ปัญหาปากท้อง ความเครียดที่ระเบิดออกผ่านการฆ่าตัวตาย
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | กันยายน 2566

ในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจและภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มากขึ้น ทำให้ “ปัญหาปากท้อง” เป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายครัวเรือนต้องรับมือ และสร้างความเครียดให้แต่ละครัวเรือนได้ไม่น้อย

สวนดุสิตโพลเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ ผ่านกลุ่มตัวอย่าง 1,352 ราย ในช่วงระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 66 พบว่า ปัญหาปากท้องหรือค่าใช้จ่าย เป็นสิ่งที่ประชาชนกังวลมากที่สุดถึงร้อยละ 52.14

จากข่าว “พ่อ-ลูกผูกคอ หนีความจน” และ “ระบบรายงานการเฝ้าระวังฆ่าตัวตาย กรณีฆ่าตัวตายสำเร็จ” ทำให้รัฐบาลต้องตระหนักถึงปัญหาปากท้องของประชาชนให้มากขึ้น เพราะปัญหาปากท้องเป็นหนึ่งในปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการฆ่าตัวตายสำเร็จ ถึงร้อยละ 22.6 รองจากปัจจัยกระตุ้นด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีมากถึง 48.7

จากอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 มาจนถึงปีพ.ศ. 2565 ทำให้เราพบว่า จริง ๆ แล้ว แม้ว่า “ปัญหาสุขภาพจิต เป็นสาเหตุหลักในการพยายามฆ่าตัวตาย” แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีต้นตอของปัญหาเป็น “ปัจจัยกระตุ้น” ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความสัมพันธหรือแม้แต่ปัจจัยด้านสุขภาพ ที่ส่งผลกระทบเป็นคลื่นน้ำถึงสภาพจิตใจได้รุนแรงเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาปากท้อง เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไข เพื่อเร่งเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ทำให้ปัญหาปากท้องและปัญหาความเครียดของประชาชนลดลง ดัชนีความสุขจะเพิ่มขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายจะลดลง

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ปรับปรุงข้อมูลจาก : รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 หมวด 12 ตัวชี้วัด เรื่อง สุขภาพจิต
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333