บทความสั้น
โควิด-19 กับชีวิตการทำงาน (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

มนสิการ กาญจนะจิตรา (คณะทำงานรายงานสุขภาพคนไทย)
ตัวชี้วัดสุขภาพ | พฤศจิกายน 2564

“ในปี 2564 มีจำนวนคนว่างงานในภาคบริการและการค้า 2.8 แสนคน สูงกว่าภาคการผลิตถึงเท่าตัว”

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานของคนไทยอย่างไม่เท่าเทียม คนตกงานที่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจต่อรองหรือหรือความคุ้มครองใดๆ การมาเยือนของโควิด-19 จึงอาจนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นต่อไปในสังคมไทย

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานของคนในประเทศไทย ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ในปี 2563 เป็นต้นมา อัตราการว่างงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 ถึงแม้อัตราว่างงานของประเทศไทยถือว่าไม่สูง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวเลขคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นราว 3.5 แสนคนภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่อชีวิตคนทำงานอยู่ไม่น้อย

อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมาจากการสูญเสียงาน และการเลิกจ้างงานเป็นหลัก สถิติตั้งแต่ปี 2560 แสดงให้เห็นว่าผู้ว่างงานในประเทศไทยเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงาน (เช่น เด็กจบใหม่) และผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่ภายหลังการระบาดของโควิด-19 พบการว่างงานของผู้เคยทำงานมาก่อนเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว จาก 2.1 แสนคน เป็น 4.8 แสนคน ในขณะที่ผู้ไม่เคยทำงานมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นไม่ถึงเท่าตัว

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อชีวิตคนทำงาน ยังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม และยังนำไปสู่การปรับตัวของธุรกิจที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของการจ้างงานในอาชีพต่างๆ อีกด้วย รอติดตามได้ในตอนต่อไปค่ะ
 
จำนวนและอัตราการว่างงานรายไตรมาส พ.ศ. 2560-2564

หน่วย: แสนคน
ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

จำนวนผู้ว่างงานรายไตรมาส จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน

หน่วย: แสนคน
ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333