บทความสั้น
โควิด-19 กับสุขภาพจิตคนไทย (ตอนที่ 2)
Home / บทความสั้น

เฉลิมพล แจ่มจันทร์ (คณะทำงานรายงานสุขภาพคนไทย)
ตัวชี้วัดสุขภาพ | ตุลาคม 2564

ภายใต้แนวคิดรอยเท้าทางสุขภาพของการระบาดใหญ่ (Health Footprint of Pandemic) “ปัญหาสุขภาพจิต” จะเป็นคลื่นผลกระทบสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังในระลอกที่ 4 จากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจะเป็นผลระยะยาวในวงกว้างต่อประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตแต่เดิม

“1 ใน 4 ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตกงาน หรือธุรกิจประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2564 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย”

​ต่อเนื่องจากบทความ “โควิด-19 กับสุขภาพจิตคนไทย (1)” ในสัปดาห์ที่แล้ว ผลการประเมินสุขภาพจิตคนไทยในปี 2564 (ม.ค.-15 ก.ย.) สะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจจากการตกงาน สูญเสียรายได้หรือธุรกิจ หรือ ด้านการใช้ชีวิตทั่วไปที่จำนวนหนึ่งต้องถูกกักตัวหรืออยู่ระหว่างการเฝ้าระวังโรค ควรเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องการการดูแลและเยียวยาทางจิตใจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจาก พบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ซึ่งจากฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข จำนวนผู้พยายามฆ่าตัวตายที่เข้ารับบริการสุขภาพจิตในปี 2563 และ 2564 พบว่ามีจำนวนมากสูงถึงเกือบ 2.5 หมื่นคนต่อปี

​การเสพข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มากเกินไปและปัจจุบันมีเข้าหาผู้คนจากหลากหลายช่องทางสื่อสารออนไลน์ ซึ่งจำนวนมากอาจเป็นข่าวสารที่ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้องหรือ fake news เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตของคนไทยที่เพิ่มขึ้น โดยการส่งเสริมพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศให้กับคนทุกวัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ

 

รอยเท้าทางสุขภาพของการระบาดใหญ่

ที่มา Tseng (2020) อ้างใน Jenkins, E. K., McAuliffe, C., Hirani, S., Richardson, C., Thomson, K. C., McGuinness, L., Morris, J., Kousoulis, A., & Gadermann, A. (2021). A portrait of the early and differential mental health impacts of the COVID-19 pandemic in Canada: Findings from the first wave of a nationally representative cross-sectional survey. Preventive medicine, 145, 106333. https://doi.org/10.1016/j.ypmed.2020.106333

จำนวนผู้พยายามฆ่าตัวตาย

ที่มา

1) Mongkhon, P., Ruengorn, C., Awiphan, R., Thavorn, K., Hutton, B., Wongpakaran, N., Wongpakaran, T., & Nochaiwong, S. (2021). Exposure to COVID-19-Related Information and its Association with Mental Health Problems in Thailand: Nationwide, Cross-sectional Survey Study. Journal of medical Internet research, 23(2), e25363. https://doi.org/10.2196/253632) https://www.dailynews.co.th/news/282026/


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333