บทความสั้น
โควิด-19 กับสุขภาพจิตคนไทย (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

เฉลิมพล แจ่มจันทร์ (คณะทำงานรายงานสุขภาพคนไทย)
ตัวชี้วัดสุขภาพ | ตุลาคม 2564

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบทางสุขภาพจิตต่อประชากรทุกกลุ่ม ทุกวัย ด้วยเงื่อนไขและปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกัน เด็กและเยาวชนในวัยเรียน เป็นหนึ่งในกลุ่มพึ่งพิงที่มีความเปราะบาง เนื่องจากมีประสบการณ์ชีวิต ความพร้อมและความเข็มแข็งทางจิตใจที่น้อยกว่าประชากรวัยอื่นในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ เช่น จากการเรียนออนไลน์ การขาดสังคมเพื่อน ขาดการเล่น หรือ แม้แต่ขาดผู้ดูแลจากการติดเชื้อหรือเสียชีวิตด้วยโควิด-19

​การประเมินสุขภาพจิตคนไทยในปี 2564 (ม.ค.-15 ก.ย.) พบสัดส่วนผู้ที่มีภาวะเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายในกลุ่มประชาชนทั่วไป ถึงร้อยละ 15.0 17.2 และ 9.6 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2563 ที่น่าสนใจ คือ ปัญหาดังกล่าวนี้ มีสัดส่วนสูงมากในกลุ่มเด็กและเยาวชนในวัยเรียนอายุไม่ถึง 20 ปี และ 20-29 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่น โดยความกังวลใจของเด็กและเยาวชนในสถานการณ์โควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นในเรื่องที่เชื่อมโยงกับครอบครัว การเรียน และ อนาคตของตน ซึ่งควรกำหนดเป็นจุดเน้นสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตของประชากรกลุ่มนี้ และช่วยป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอื่นที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทย (1 ม.ค. - 15 ก.ย. 2564)

ที่มา https://public.tableau.com/app/profile/atprogrammer/viz/MHCI/Dashboard1

หมายเหตุ ผู้ประเมินสุขภาพจิต ระหว่างวันที่ 1 มกรกาคม- 15 กันยายน 2564 จำนวนรวมทุกกลุ่ม 1,734,662 คน จำแนกเป็น ประชาชนทั่วไป 634,277 คน บุคลากรทางการแพทย์  122,478 คน อสม. 284,944 คน ผู้สูงอายุ 277,699 คน  ครอบครัวมีผู้พึ่งพิง 105,972 คนตกงาน/รายได้น้อย/ธุรกิจประสบปัญหา 101,115 คน ผู้ถูกกักตัวที่บ้าน 64,322 คน ผู้ป่วยเรื้อรัง 43,330 คน ผู้พิการทางกาย 15,605 คน (ที่เหลือเป็นกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง  ญาติของผู้ถูกกักตัว ซึ่งมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวนไม่มาก)

 

ความกังวลใจของเด็กและเยาวชนต่อผลกระทบโควิด-19

หมายเหตุ (1) การสำรวจเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ช่วงเดือนมีค.-เม.ย. 2563 จำนวน 6,771 คน (* จำนวน 334 คน) (2) สีเหลืองเข้ม และสีเหลืองอ่อน แสดงกลุ่มอายุที่มีสัดส่วนผู้ที่กังวลใจในแต่ละประเด็นเป็นสัดส่วนมากที่สุดอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่น

​ที่มา รายงานเบื้องต้นการสำรวจผลกระทบและความต้องการของเด็กและเยาวชนในสถานการณ์โควิด-19 โดยสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยUNICEF, UNDP และ UNFPA (2563)

 

ซึมเศร้า กังวลใจ และเครียดในกลุ่มนักเรียน ม.ปลาย ช่วงสถานการณ์โควิด-19

หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ม.ปลาย รวม 392 คน (ร้อยละ 59.2 จากประเทศไทย และ ร้อยละ 26.5 จากสหราชอาณาจักร) เก็บข้อมูลออนไลน์ในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2563

​ที่มา Pungpapong, G. and Kalayasiri, R. (2021). “Depression and Anxiety Plus Levels of Stress among Secondary School Students during the COVID-19 Lockdown: an Online Cross-Sectional Survey”. Journal of Health Science and Medical Research. doi: 10.31584/jhsmr.2021824

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333