บทความสั้น
สุขภาพของคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Home / บทความสั้น

กัญญา อภิพรชัยสกุล คณะทำงานรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | สิงหาคม 2563

ประเทศไทยด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพที่อันตรายนำไปสู่โรคอื่น ๆ คือ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ จากผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร 2560 พบว่าปี ประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่เป็นประจำอยู่ประมาณเกือบ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้พบว่าเป็นประชากรที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดประมาณเกือบ 2.8 ล้านคน 

ที่มา: รายงานสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560, สำนักงานสถิติแห่งชาติ

​เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ในปี 2563 พบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานสูงถึงเกือบ 3 ล้านคน ในจำนวนนี้พบว่าเป็นผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือประมาณ 1.4 ล้านคน นอกจากเบาหวานแล้วยังพบว่าประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงกว่าภาคอื่น ๆ อีกด้วย (ประมาณ1.8 ล้านคน) 

​จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพของคนภาคตะวันออกเฉียง หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นปัญหากับประเทศที่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งที่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการดำเนินการด้านการป้องกันโรคเป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐควรต้องคำนึงถึง

หากพิจารณาถึงโรคติดต่อสำคัญ คือโรคอุจาระร่วงพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงต่อแสนประชากรพบว่าเขตสุขภาพที่พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงสูงที่สุด คือ เขตสุขภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการมีอัตราป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงสูงเกือบทุกเขตสุขภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานทางด้านสุขภาพควรมีการพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดโรคว่าเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกฉียงเหนือด้วยว่ายังมีการบริโรคอาหารสุกๆ ดิบๆ อยู่หรือไม่ และเน้นให้ความรู้ถึงผลของการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ ให้มากยิ่งขึ้น 
 

หมายเหตุ ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2563
ที่มา: ฐานข้อมูล HDC, ข้อมูลสถานะทางสุขภาพการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญ เขตสุขภาพที่ 1-12 กระทรวงสาธารณสุข  


ท่านสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ในรายงานสุขภาพคนไทยประจำปี 2564 ซึ่งจะอออกเร็วๆ นี้


created by pch.vector - www.freepik.com

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333