บทความสั้น
“ยาเสพติด” วิกฤตวัยรุ่นไทย
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | เมษายน 2567

กลุ่มวัยรุ่น เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี นับเป็นช่วงวัยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด

 

โดยปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย ๆ มาจาก ยาเสพติดมีราคาถูกลง และกลุ่มเยาวชนถือได้ว่าเป็นกลุ่มอายุเป้าหมายของมิจฉาชีพ เพราะหากถูกจับกุมจะไม่ได้รับโทษเท่ากับผู้ใหญ่ โดยลักษณะของการค้ายาเสพติดมักจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และมีการนัดสถานที่เพื่อรับยาเสพติด

จากข้อมูลการเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในปี 2564 พบว่่า “ยาบ้า” แพร่ระบาดมากที่สุุด คิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมาคือ ยาไอซ์ ร้อยละ 8.6 กัญชาแห้ง ร้อยละ 4.7 และเฮโรอีน ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่ทำให้เยาวชนเข้าหาหรือพึ่งพาการใช้ยาเสพติด ได้แก่

1. “ความอยากรู้ อยากลอง” ต้องการประสบการณ์ที่ใหม่ โดยเฉพาะสิ่งต้องห้าม

2. “การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับเพื่อน” โดยเป็นช่วงวัยที่เอาแต่ใจ มักชอบตามใจเพื่อน เพื่อให้ตนเองมีสังคมรวมไปถึงความต้องการที่ได้รับการยกย่องและยอมรับจากกลุ่มเพื่อน

3. “การถูกหลอกลวง” โดยเฉพาะเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง อาจทำให้ได้รับสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

4. “การสร้างความเชื่อผิด ๆ” โดยมักมีความเชื่อที่ว่าการใช้ยาเสพติดจะทำให้มีความสุข เกิดความผ่อนคลาย เป็นต้น

5. “สิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยง” เช่น อาศัยอยู่ในสถานที่แออัดแหล่งค้าขายยาเสพติด หรือประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจนต้องหันมาพึ่งยาเสพติด

 

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวด 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ เรื่อง ปัญหายาเสพติดในชุมชน จะควบคุมอย่างไร ? สืบค้นจาก : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333