บทความสั้น
โรคเรื้อรัง “NCDs” ในวัยทำงาน ที่มาจากความเครียด
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
เรื่องพิเศษ | เมษายน 2567

“ช่วงวัยทำงาน” มักจะเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) เป็นโรคเครียดซึ่งเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อคนทำงานทั้งด้านพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก

จากงานวิจัยของต่างประเทศระบุว่า ภาวะหมดไฟในการทำงานนี้ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ในระยะยาว จากข้อมูลปี 2561 กรมสุขภาพจิตได้ทำการสำรวจสุขภาพใจของคนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี พบว่า ความเครียด 3 อันดับแรกในกลุ่มคนวัยทำงาน ได้แก่ อันดับ 1 เครียดจากเศรษฐกิจ ร้อยละ 30.82 อันดับ 2 เครียดจากภาวะสังคม ร้อยละ 20.29 และอันดับ 3 เครียดจากปัญหาครอบครัว ร้อยละ 14.52 ตามลำดับ

ปัจจัยหลักของความเครียด คือ ความเครียดสะสมจากเรื่องงาน เศรษฐกิจ ครอบครัว และรวมไปถึงภาวะการป่วยเรื้อรัง (ประโยคนี้ตัดออกเพราะมีกล่าวถึงด้านล่างแล้ว)จากรายงานภาวะสังคมไทย (ไตรมาส 1) ปี 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า คนวัยทำงานเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน ภาวะเครียด และการฆ่าตัวตายที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ความเครียดนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพมากมาย โดยข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนว่า คนวัยทำงานจำนวนมาก ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ได้มาจากพฤติกรรมทางสุขภาพเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัจจัยเรื่องความเครียดสะสมในกลุ่มวัยทำงานอีกด้วย

 

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2567” (ซึ่งจะเผยแพร่ช่วงเดือนเมษายน 2567) ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com

 

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”

Facebook : สุขภาพคนไทย

Instagram : @thaihealthreport

TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย)

ข้อมูลอ้างอิง รายงานสุขภาพคนไทย 2567 หมวดเรื่องพิเศษประจำฉบับ เรื่อง ความเครียด ภัยเงียบในสังคมไทย สืบค้นจาก : สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333