บทความสั้น
อยู่คนเดียว...เสี่ยง(สุขภาพ) สูงสุด
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | เมษายน 2567

ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมารููปแบบการอยู่่อาศััยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะครอบครัวที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรไทย ได้ส่งผลให้โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในอนาคตรูปแบบการอยู่อาศัยของคนไทยจะมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น

ลักษณะ “ครอบครัว” มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ จากการสำรวจการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กร พบว่า ลักษณะ ครอบครัวที่อยู่คนเดียว มีพฤติกรรมเสี่ยงระดับมากถึงมากที่สุด ที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 12.3 พฤติกกรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 10.0 รวมไปถึงการเล่นพนัน ร้อยละ 10.1 ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับครอบครัวลักษณะอื่น และสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาในระยะยาว

ถึงแม้ว่าการอยู่คนเดียว จะมีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นทาง ด้านร่างกาย หรือ ด้านจิตใจ ดังนั้นหากรู้แบบนี้แล้ว เรายิ่งควรเตรียมความพร้อม ทั้งการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รู้จักช่วยเหลือตนเอง ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง และพึ่งพาตนเองให้ได้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญควรที่จะต้องวางแผนตั้งแต่วันนี้ รู้จักหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้เท่าทันเทคโนโลยี รวมไปถึงการเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นตัวช่วยที่เปรียบเสมือนระบบภูมิคุ้มที่สามารถทำให้เราอยู่คนเดียวแบบแข็งแรงและไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจ ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” สามารถอ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย” Facebook : สุขภาพคนไทย Instagram : @thaihealthreport TikTok : @thaihealthreport (30 วิสุขภาพคนไทย) ข้อมูลอ้างอิง รายงานสุขภาพคนไทย 2566 หมวดตัวชี้วัด เรื่อง สภาพแวดล้อมครอบครัว สืบค้นจาก : สถาบันวิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล


Related Topics :

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333