บทความสั้น
การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของไทย
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
สถานการณ์เด่น | กรกฎาคม 2566

โยบาย “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” ถือเป็นหนึ่งในแผนปฏิรูปด้านสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนไทยทุกคน มีทักษะในการเข้าถึงสุขภาพและบริการสุขภาพ เข้าใจข้อมูล สามารถตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ และปรับใช้ข้อมูลเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยมีการวางยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านพื้นฐาน พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร รวมถึงปรับโครงสร้างของหน่วยงานและศักยภาพบุคลากร 2) ด้านกระบวนการ ผลิตสินค้าและบริการที่ส่งเสริมการเข้าถึง เข้าใจ ให้ความรู้ด้านสุขภาพกับประชาชน 3) ด้านภาคีเครือข่าย พัฒนาองค์กรต่าง ๆ ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ให้เป็นองค์กรรอบรู้สุขภาพ 4) ด้านประชาชน ทำให้ประชาชนและชุมชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ จัดให้มีอาสาสมัครรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นต้น

นวคิดการดำเนินงานความรอบรู้สุขภาพของประเทศไทย และกรอบแนวคิดในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับบุคคล ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมสุขภาพ 2) การป้องกันโรค 3) การจัดบริการสุขภาพ 4) การคัดกรองและเลือกรับผลิตภัณฑ์สุขภาพ และมีการเพิ่มมิติความรอบรู้ด้านสุขภาพตัววี หรือที่เรียกว่า V Shape ประกอบด้วย ได้แก่ เข้าถึง เข้าใจ สอบถาม ตัดสินใจ เปลี่ยนพฤติกรรม บอกต่อ

ทั้งนี้การดำเนินการขับเคลื่อนที่ผ่านมา กรมอนามัยได้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ 1) จัดเวทีขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ ระดับเขต ระดับจังหวัด 2) สนับสนุนการปรับนโยบายของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการใช้และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 3) จัดทำประเด็นสื่อสารหลัก 66 ข้อ เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูล ความรู้ และทักษะพื้นฐานด้านสุขภาพในทุกกลุ่มวัย 4) ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป

ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้คนในสังคมมีทักษะในการเข้าถึงสุขภาพและบริการสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจและเลือกใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนสามารถตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น

ยังมีอีกหลายบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ” ตามมาอ่านต่อได้ที่ “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 โดยสามารถอ่านแบบออนไลน์ได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ ‘สุขภาพคนไทย’
ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport (30วิ สุขภาพคนไทย)


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333