บทความสั้น
“ขยะมูลฝอย” กับ “มลพิษทางสิ่งแวดล้อม”
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | กรกฎาคม 2566

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ขยะมูลฝอย” เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ขยะมูลฝอย คือของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต และการอุปโภคในชีวิตประจำวัน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ซึ่งหากถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้

จากการสำรวจ “สถานการณ์ขยะมูลฝอยของภูมิภาค” ปี 2564 พบว่า ขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร ถึงจะมีปริมาณมาก แต่มีระบบการจัดการที่ดี คือ ขยะมูลฝอยทั้งหมดมีการกำจัดอย่างถูกต้อง สูงถึงร้อยละ  70.9 ต่างกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดถูกต้องเพียงร้อยละ 18.0 เท่านั้น

ภาคใต้ เป็นภูมิภาคที่มีขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้องสูงที่สุด สูงถึงร้อยละ 41.2 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์มากที่สุด สูงถึงร้อยละ 45.1 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ

นอกเหนือจากระบบการจัดการขยะส่วนกลาง “ซาเล้ง” และ “ร้านรับซื้อของเก่า” เป็นกลไกสำคัญหนึ่งในประเทศไทย ในการนำเศษพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณา การสนับสนุนเพื่อให้อาชีพนี้มีความปลอดภัย และมีศักยภาพในการช่วยลดผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม

ยังมีอีกหลายบทความทางสุขภาพที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “มลพิษทางสิ่งแวดล้อม” ให้ทุกท่านได้อ่านกันใน “รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566” หมวด 12 ตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ อ่านฟรีได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


หมายเหตุ: ปรับปรุงข้อมูลจาก รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566
12 หมวดตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (หน้าที่ 20-21)

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ “สุขภาพคนไทย”
ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : @thaihealthreport
TikTol : @thaihealthreport (30วิสุขภาพคนไทย)

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333