บทความสั้น
“ทางเลือก” เพื่อ “ทางรอด” คนเชียงใหม่ กับ ปัญหามลพิษทางอากาศ
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | พฤษภาคม 2566

ปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด รู้หรือไม่ ? ผู้ที่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือ มีโอกาสได้รับฝุ่น PM2.5 มากกว่าผู้ที่อาศัยในภูมิภาคอื่น ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดในแต่ละจังหวัดของภาคเหนือที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจนที่ 25.6 รายต่อประชากรแสนคน

เมื่อ “ทางเลือก” นำมาซึ่ง “ทางรอด” ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศในระดับบุคคล ไม่ว่าจะเป็น “การใส่หน้ากากอนามัย” และ “การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ” แม้จะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้โดยตรง แต่อย่างน้อยสามารถช่วยลดความเสี่ยงสุขภาพจากมลพิษทางอากาศได้

การศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า คนในแต่ละพื้นที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันมลพิษทางอากาศที่แตกต่างกัน โดยพบว่าคนใน “เขตเมือง” และ “เขตที่ราบชนบท” มีความเต็มใจที่จะจ่ายเงินสำหรับซื้อ “หน้ากากอนามัย” และ “เครื่องฟอกอากาศ” สูงกว่า “ผู้อาศัยในพื้นที่สูง” ซึ่งมีปัจจัยด้านระดับการศึกษา และการรับรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศ

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนใน “เขตเมือง” และ “เขตที่ราบชนบท” ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีความตื่นตัวกับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ และวิธีการป้องกันตนเองเป็นอย่างมาก “ปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ” จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องติดตาม ระวัง และร่วมกันแก้ไขอย่างใกล้ชิด ก่อนที่ประชาชนจะเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพไปมากกว่านี้

ยังมีอีกหลายบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ “มลพิษทางสิ่งแวดล้อม” ตามมาอ่านต่อได้ที่ รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566 “หมวด 12 ตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ” สามารถอ่านออนไลน์ได้แล้ววันนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ www.thaihealthreport.com หรือติดต่อขอรับหนังสือผ่านทางอีเมลได้ที่ thaihealthipsr@gmail.com


หมายเหตุ: ปรับปรุงเนื้อหาจาก เล่มรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 หมวด 12 ตัวชี้วัด ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ( หน้าที่ 20 - 21 )

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ของ ‘สุขภาพคนไทย’ ได้ที่

www.thaihealthreport.com
Facebook : สุขภาพคนไทย
Instagram : thaihealthreport
TikTok : @thaihealthreport

 

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333