บทความสั้น
ครอบครัว: ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | ตุลาคม 2565

ครอบครัว คือ สถาบันที่สำคัญในการเป็นฐานรากให้กับเด็กและเยาวชน การที่สมาชิกในครอบครัวมีความสันพันธ์ที่ดีต่อกัน รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองรวมถึงสามารถพึ่งตนเองได้ จะเป็นภูมิคุ้มกันพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในครอบครัวได้

การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ภายในครอบครัว สามาถสร้างความสุข ความอบอุ่นในครอบครัวได้ การสื่อสารแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ 1) แบบเห็นพ้องต้องกัน (Consensual) เป็นการสื่อสารแบบเปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวได้แสดงความคิดเห็นกล้าแสดงออก รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2) แบบเปิดเสรีทางความคิด (Pluralistic) เป็นการสื่อสารที่ครอบครัวสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัว กล้าแสดงความคิดของตนเอง กล้าแสดงออก กล้าพูดคุย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญในครอบครัว 3) แบบปกป้อง (Protective) เป็นการสื่อสารของครอบครัวที่เข้มงวด โดยผู้มีอำนาจสูงสุดจะเป็นผู้กำหนดระเบียบให้ถือปฏิบัติ เด็กจะถูกสอนให้เคารพเชื่อฟังและทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ และ 4) แบบปล่อยปละละเลย (Laissez-Faire) เป็นการสื่อสารที่สมาชิกแต่ละคนสามารถทำอะไรได้ตามความต้องการ ไม่มีกรอบหรือแนวทางที่สมาชิกต้องเชื่อฟังในครอบครัวมีการสื่อสารกันน้อย1 การสื่อสารทั้ง 4 รูปแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันในแต่ละครอบครัวควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับครอบครัวตนเอง  

สำหรับการสื่อสารภายในครอบครัวมีความสำคัญมาก จากการศึกษาศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว2 พบว่าครอบครัวที่มีการพูดคุยปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวมีความรุนแรงน้อยกว่าครอบครัวที่ไม่มีการพูดคุย   


ที่มา: รายงานผลสำรวจระดับประเทศ: ความรุนแรงในครอบครัวไทยต่อผู้หญิงและบุคคล และ รายงานผลสำรวจระดับประเทศ 2564: ความรุนแรงในครอบครัวภายใต้สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19.

ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวควรแบ่งเวลาให้แก่กัน มีการสื่อสารกันให้มากขึ้น เปิดใจรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน อย่าเป็นสังคมก้มหน้า จะพาให้ครอบครัวเกิดความอบอุ่นและมีความสุข เพื่อเป็นเกราะป้องกันปัจจัยเสี่ยงอื่นที่จะเข้ามา


อ้างอิง

  1. นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2558). สื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขในครอบครัว. Veridian E-Journal, Slipakorn University. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565 จาก file:///C:/Users/Kanya_Noon/Downloads/boonsri1,+Journal+manager,+49_นวลฉวี.pdf.
  2. ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว. (2565). การสำรวจเยาวชนไทย 2565. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความรูนโยบายเด็กและครอบครัว.

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333