บทความสั้น
ความ (ไม่) ปลอดภัยของคนเดินเท้า!!
Home / บทความสั้น

กาญจนา เทียนลาย
สถานการณ์เด่น | สิงหาคม 2565

เมื่อลองค้นหาสาเหตุการตายของคนไทยใน Google ก็จะพบข้อมูลไปในทางเดียวกันว่าคนไทยจากมะเร็งมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือโรคหลอดเลือดในสมอง นอกจากนี้แล้วยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การตายจากอุบัติเหตุจราจร ติด 1 ใน 5 ของสาเหตุการตายของคนไทยเช่นเดียวกัน สอดคล้องกับข้อมูลจากสถิติสาธารณสุขที่พบว่า ในปี 2563 คนไทยมีอัตราตายอุบัติเหตุการคมนาคมทางบกถึง 26.3 ต่อประชากรแสนคน1

รายงานสถิติในช่วงปี 2556-2560 อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนถนนของกรมทางหลวง พบว่า ลักษณะของการชนที่ทำให้เกิดความรุนแรงสูง ได้แก่ อุบัติเหตุรถชนคนเดินเท้า ที่จัดเป็นอุบัติเหตุที่มีดัชนีความรุนแรงสูงสุด โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 55 รายต่ออุบัติเหตุ 100 ครั้ง รองลงมาคือ อุบัติเหตุรถชนกันในทิศทางตรงกันข้าม และอุบัติเหตุจากการแซง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 40 รายต่ออุบัติเหตุ 100 ครั้ง ตามด้วยอุบัติเหตุบริเวณทางแยกและอุบัติเหตุการชนรถที่จอดอยู่หรือวัตถุสิ่งของที่อยู่บนทาง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 25 รายต่ออุบัติเหตุ 100 ครั้ง2

ทางม้าลาย คือ เครื่องหมายจราจรที่เป็นสัญลักษณ์สากล มีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการข้ามถนน เป็นพื้นที่ที่ทำขวางถนนสำหรับให้คนเดินเท้าข้าม ส่วนใหญ่เป็นแถบสีขาวสลับดำคล้ายกับสีของม้าลาย3

ต่อไปนี้เป็นอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นบนทางม้าลาย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางม้าลาย ซึ่งทางม้าลายควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการข้ามถนน ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น ในบางจุดของทางม้าลาย (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ) จะมีการวางธงไว้ในแต่ละฝั่ง เมื่อจะข้ามให้ยกธงทำสัญลักษณ์ว่าจะข้ามและข้ามไปแล้วนำธงไปวางไว้อีกฝั่ง บางจุดมีจุดกดสัญญาณให้รถหยุดเมื่อต้องการข้าม หรือสัญญาณไฟให้ข้าม  ในต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของคนข้ามถนน เช่น ประเทศญี่ปุ่นตามทางแยกใหญ่ๆ จะมีสัญญาณให้ข้ามเหมือนกับรถทั่วๆ ไปเลย โดยจะมีเสียงประกอบด้วย หรือตามทางข้ามเล็กๆ ทางม้าลายเป็นเครื่องหมายสำคัญที่รถจะให้ความสำคัญกับการข้ามถนนก่อนเสมอ ทำให้การข้ามถนนมีความปลอดภัยมากขึ้น

สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจราจรในบ้านเรา เกิดจากการขับขี่โดยประมาท ขับขี่เร็วเกินกว่าที่กำหนด ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ คนเดินถนนไม่ข้ามในทางข้ามที่กำหนด เช่น ทางม้าลาย สะพานลอย แต่อย่างไรก็ตามก็มีกรณีที่ข้ามในทางข้ามเช่นทางม้าลายแล้วแต่กลับถูกรถชน ดังเช่นกรณีของหมอกระต่าย สิ่งเหล่านี้ก็เกิดจากการที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร โดยมักจะอ้างว่า ไม่เห็นว่ามีทางม้าลาย ไม่เห็นว่ามีคนข้าม และความรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องหยุดให้คนข้าม รถเป็นทางหลัก คนจะข้ามถนนต้องดูรถเอง เหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนทางม้าลายซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยของคนข้ามถนนขึ้น

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ขับขี่และคนเดินเท้าก็คือ ความไม่ประมาท ขับขี่ด้วยความระระมัดระวัง เคารพกฎจราจร และมีจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน 


อ้างอิง

  1. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารสุข. 2564. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563. จาก https://spd.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2563_0.pdf
  2. ย้อนส่องสถิติ คนเดินถนนในไทย ถูกรถชนเสียชีวิต ติด TOP 10 โลก. 24 มกราคม 2565. Springnews จาก https://www.springnews.co.th/news/820305
  3. ทางม้าลาย ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร?. 15 กุมภาพันธ์ 2565. Office of Knowledge Management and Development จาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4807/
  4. สรุปเหตุ "หมอกระต่าย" พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ถูกตำรวจขับบิ๊กไบก์ ดูคาติ ชนเสียชีวิตขณะข้ามทางม้าลาย. 24 มกราคม 2565. Trueid จาก https://news.trueid.net/detail/YN0x547BLnvN
  5. เกิดเหตุซ้ำ! ใกล้ทางม้าลาย รถชนคนข้ามถนนเสียชีวิต. 7 กรกฎาคม 2565. PPTV จาก https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/175851
  6. รถเก๋งชน "นทท.ฝรั่งเศส" เสียชีวิต ขณะข้ามทางม้าลาย. 26 พฤษภาคม 2565. Thai PBS จาก https://news.thaipbs.or.th/content/315954
  7. นาทีเบนซ์ฝ่าธงแดง ชนนักเรียนข้ามทางม้าลาย เจ็บ 3 ราย ไม่ขอโทษ เด็กช็อกร้องกรี๊ด. มปป. Kapook จาก https://hilight.kapook.com/view/226472

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333