บทความสั้น
กิจกรรมทางกาย: เท่าไหร่ถึงจะพอ (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | สิงหาคม 2565

“โควิด-19 ทำให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอลดลงโดยเฉพาะในปี 2563”

กิจกรรมทางกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ สามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ (Noncommunicable Diseases: NCD) ได้ การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในมิติของการปองกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการมีพัฒนาการที่ดีตลอดชวงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กทุกชวงวัยนั้น จะสร้างความแข็งแรงของหัวใจ กล้ามเนื้อและกระดูก พัฒนาการเคลื่อนไหว สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเขาสังคม พัฒนาสมอง การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาภาวะทางอารมณ์

องค์การอนามัยโลก (World Health Organizations: WHO) ได้ให้นิยามของกิจกรรมทางกาย (physical activity: PA) คือ การเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน ทั้งการทำงาน การเดินทาง และนันทนาการ ตลอดจนการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา โดยมีข้อแนะนำในการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับผู้ใหญ่อายุ18 ปีขึ้นไปควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็วการปั่น จักรยาน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือควรมีกิจกรรม ทางกายระดับหนัก เช่น การวิ่ง การขุดดิน การยกของหนัก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 75 นาที

การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ (insufficient physical activity) ก่อให้พฤติกรรมเนือยนิ่ง (sedentary time) ซึ่งมีนิยามว่า กิจกรรมที่ใช้ระดับพลังงานต่ำที่ทำในยามตื่น เช่น การนั่ง เอนหลัง หรือนอนราบ จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาพบว่าพฤติกรรมเนือยนิ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประมาณร้อยละ 112 โรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 147 ความเสี่ยงของการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 90 และความเสี่ยงจากการเสียชีวิตที่เกิดจากทุกสาเหตุร้อยละ 49 อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับการลดลงของระดับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย, 2563)

ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกสำหรับกิจกรรมทางกาย

เด็กและวัยรุ่น (อายุ 5 – 17 ปี)

สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย โดย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ในกลุ่มประชากรอายุ 5-17 ปี ต่ำกว่าค่าเป้าหมายของประเทศอยู่ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง สำหรับเด็กผู้ชายมีแนวโน้มดีขึ้น และลดลงในปี 2563 อาจเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19

สัดส่วนประชากร อายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ปี 2555-2563


ที่มา: โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2555-2563,
       ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย.

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333