บทความสั้น
COVID-19: Community Isolation (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | เมษายน 2565

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรงตั้งแต่เมษายน 2564 เป็นต้นมา ทำให้จำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลในการรองรับผู้ป่วย ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียวซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดกั้นและลดการแพร่ระบาดในชุมชน สำหรับแนวทางในการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมในชุมชนเอง และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ 1) การสร้างความเข้าใจกับชุมชนและผู้อยู่อาศัยรอบๆ พื้นที่จัดตั้งศูนย์เพื่อขอความเห็นชอบในการจัดตั้ง 2) ประสานเพื่อเตรียมระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขอนามัยภายในศูนย์แยกกักตัว และ 3) จัดเตรียมผู้นำชุมชน อาสาสมัครชุมชน ในการดูศูนย์แยกกักตัว1

ในการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนแม้จะมีปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 1) ด้านการสื่อสารกับผู้ป่วยเนื่องจากในบางพื้นที่มีแรงงานข้ามชาติป่วยเป็นจำนวนมาก 2) ความซับซ้อนและความถูกต้องของข้อมูลผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นจาก Call Center เช่น การแจ้งชื่อผิดพลาด หรือ การ Walk-in โดยไม่ได้ลงทะเบียนมาก่อน เป็นต้น 3) ความแออัดของผู้ป่วย 4) ระบบต่างๆ ที่ยังไม่เสถียร เช่น การ X-ray เป็นต้น แต่พบว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จนสามารถจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนกระจายไปทั่วประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2565 เกิดศูนย์แยกกักตัวในชุมชน 568 ศูนย์  โดยพบว่า เขตสุขภาพที่ 3 มีการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนมากที่สุด ซึ่งครอบคลุม จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร ชัยนาท และอุทัยธานี


อ้างอิง

  1. http://www.stopcorruption.moph.go.th/application/editors/userfiles/filesคู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน%20Community%20Isolation%20(ฉบับปฏิบัติการ).pdf

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333