บทความสั้น
โควิด-19: ชีวิตครอบครัวและชุมชน (ตอนที่ 2)
Home / บทความสั้น

กัญญา อภิพรชัยสกุล
ตัวชี้วัดสุขภาพ | กุมภาพันธ์ 2565

อีกด้านหนึ่งของโควิด-19 พบว่า การโทรศัพท์รับแจ้งเหตุของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (1669) พบว่าจำนวนการโทรศัพท์แจ้งด้วยอาการถูกทำร้ายลดลง และลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2564  

ที่มา: ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 

สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ระลอกที่มีการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น (เมษายน 2564) และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีคลัสเตอร์อยู่กลางกรุงเทพฯ และกระจายไปทุกจังหวัดอย่างรวเร็ว ส่งผลให้จำนวนเตียงในโรงพยาบาลสนามที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จึงเกิดแนวคิดจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียวที่มีอาการไม่รุนแรง หรือป่วยแล้วอาการดีขึ้นแต่ยังจำเป็นต้องแยกกักตัวจากคนอื่น ซึ่งการแยกกักตัวในศูนย์แยกกักตัวในชุมชนเกิดขึ้นเพื่อลดการแพร่ระบาดในชุมชน โดยแนวทางในการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมในพื้นที่หรือในชุมชนเอง

หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 11 มกราคม 2565
ที่มา: ระบบลงทะเบียนจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน, กรมการแพทย์

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333