บทความสั้น
โควิด-19 กับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

มนสิการ กาญจนะจิตรา
ตัวชี้วัดสุขภาพ | มกราคม 2565

โควิด-19 กับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ตอนที่ 1

ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในดัชนีความก้าวหน้าของคน ที่สะท้อนถึงสภาพความเป็นอยู่ของคน วัดได้จากการมีบ้านและที่ดินเป็นของตนเอง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประสบปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้ง เป็นต้น

กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ถดถอยจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในทิศทางที่ดี การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นสาเหตุหลักของปรากฏการณ์เรือนกระจก มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ก่อนการระบาดในปี 2562 และยังลดอย่างต่อเนื่องในปี 2563 ซึ่งหากพิจารณาจำแนกตามภาคเศรษฐกิจ จะพบว่าภาคการขนส่งและการผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงภายหลังการระบาดในปี 2563 ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเร่งการลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปี 2553-2563 (พันตัน)

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำแนกรายภาคเศรษฐกิจ ปี 2553-2563 (พันตัน)

อุทกภัย เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในประเทศไทย และส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของคนไทยในหลายพื้นที่ ถึงแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยโดยตรง แต่การเกิดอุทกภัยในระหว่างการระบาดของโควิด-19 สร้างความท้าทายในการรับมือกับภัยพิบัติยิ่งขึ้น เช่น ความล่าช้าในการดำเนินงาน การขาดแคลนอาสาสมัครและงบประมาณในการช่วยเหลือ และยังเพิ่มโอกาสความเสี่ยงในการระบาดเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ในช่วงปลายกันยายนถึงต้นตุลาคมที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก พบว่ามีอย่างน้อย 8 จังหวัดที่ประสบปัญหาที่หนักหน่วงพร้อมๆ กัน ทั้งจากอุทกภัยและการระบาดหนักของโควิด-19 ในพื้นที่ 

ตารางแสดงระดับความเสี่ยงจากอุทกภัยและการระบาดของโควิด-19 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333