10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ 2546
ปี 2546 คนไทยขานรับนโยบาย ออกกำลังกายอย่างคึกคักทั่วประเทศ

เป็นที่ทราบกันดีทั่วไปว่าการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจเบื้องต้นต้องยึดหลักทางสายกลางมีความพอดีของการกินการขับถ่ายการนอนให้พอเพียงทำจิตใจให้สงบและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

คนทุกคนไม่สามารถดื้อดึงได้เป็นเวลานานๆกับ 3 อย่างแรกเพราะกลไกภายในร่างกายไม่ยอมให้เราหยุดกินหยุดนอนหยุดถ่ายได้ง่ายๆส่วนเรื่องทางจิตใจไม่กังวลไม่เครียดเรามักสั่งร่างกายและสมองของเราไม่ได้อย่างใจนึก

แต่พอถึงการออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมออกแรงเคลื่อนไหวต่างๆทั้งที่ตั้งใจทำหรือเพื่อประกอบอาชีพซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพได้ทุกด้านและช่วยป้องกันโรคได้หลายชนิดกลับเป็นเรื่องที่คนมักมองข้ามไปง่ายๆทั้งๆที่การออกกำลังกายมีประโยชน์มหาศาลทั้งต่อตัวเองและต่อสังคม

การออกกำลังกายสม่ำเสมอทำให้หัวใจปอดระบบหมุนเวียนของโลหิตกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อกระดูกผิวหนังแข็งแรงยิ่งขึ้นเพิ่มสมรรถภาพทางเพศป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันลดไขมันในเส้นเลือดลดความดันโลหิตสูงลดความอ้วนเนื่องจากร่างกายนำไขมันมาเป็นพลังงานได้ดีกว่าเดิมป้องกันและรักษาโรคเบาหวานป้องกันโรคกระดูกเปราะและยังช่วยทำให้ความจำดีขึ้นนอนหลับดีขึ้นอารมณ์ดีขึ้นเนื่องจากการหลั่งสารเอ็นโดฟิน (endorphin) และเซโรโตนิน (serotonin) ในสมอง

การออกกำลังกายยังเป็นการสร้างความมั่นคงต่อสุขภาพสังคมด้วยเพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในสถานประกอบการร้อยละ 20-55 ช่วยลดอัตราการหยุดงานจากการเจ็บป่วยประมาณร้อยละ 6-32 ประโยชน์สำคัญสูงสุดคือส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งต่อตัวบุคคลและครอบครัวส่งเสริมวิถีชีวิตที่ปลอดภัยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆทั้งจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและจากยาเสพติดและลดปัญหาความรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่น

คนไทยกับนโยบายออกกำลังกาย

ด้วยลักษณะงาน ชีวิต และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายของคนในเมืองกับชนบท เห็นชัดว่าคนที่ทำงานในไร่นา จะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายและได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ  ส่วนคนในเมืองมีวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นรองคนในชนบท และเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่า คนเมืองที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมักจะบ่ายเบี่ยงว่าไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ หรืออ้างฟ้าฝนไม่เป็นใจในการออกกำลังกาย โดยมักจะผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ


10
สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ / ปี

รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333