thaihealthreport
  • สุขภาพคนไทย

  • รายงานสุขภาพคนไทย

  • ตัวชี้วัดสุขภาพ

  • 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ

  • 4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย

  • เรื่องพิเศษประจำฉบับ

  • More

    ENG
    ไทย

    คนไทย “อ้วน” แค่ไหน

    กว่า 1 ใน 3 ของคนไทยมีภาวะ “น้ำหนักเกิน” และ 1 ใน 10 “อ้วน” ในระยะ 2 ทศวรรษ (ปี 2534 - 2552) คนไทยอายุ 15ปีขึ้นไป มีอัตราของภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้น 2 เท่า (จาก 17.2% เป็น 34.7%) และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า (จาก 3.2% เป็น 9.1%) ปัญหาโภชนาการเกิน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน เป็นวาระทางสุขภาพสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและร่วมมือแก้ไข

     

    น้ำหนักเกิน ไม่เกิน อ้วน ไม่อ้วน ประเมินง่ายๆ จากค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) ซึ่งคำนวณจากน้ำหนักตัว (กก.) หายด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร2) หากมีค่าตั้งแต่ 25 กก./เมตร2ขึ้นไปตามเกณฑ์สากล นั่นคือ “น้ำหนักเกิน” และตั้งแต่ 30 กก./เมตร2ขึ้นไป คือ “อ้วน” หรือหากวัดด้วยความยาวเส้นรอบเอว ชายตั้งแต่ 90 ซม. และหญิงตั้งแต่ 80 ซม. ถือว่า “อ้วนลงพุง”

     

    ความอ้วนดูเหมือนจะแปรผันตามระดับการพัฒนาการประเทศและคุณภาพชีวิต ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของคนไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่หญิงไทยมีแนวโน้มจะอ้วนสาหัสกว่าชายไทยในทุกตัวชี้วัด

    อ่านต่อ
    DOWNLOAD
    ความอ้วนที่เหลื่อมล้ำ
    ความเสี่ยงจากโรคอ้วน
    ภาระโรคและผลกระทบ
    วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
    คนไทย “อ้วน” แค่ไหน
    อาหารและเครื่องดื่ม
    สิ่งแวดล้อมด้านอาหาร
    ค่านิยม และทัศนคติ
    กลไกตลาด เจาะกลุ่ม “คนอ้วน”
    รู้ไว้...ไม่อ้วน
    แผนและมาตรการขจัด “อ้วน”
    ดูดัชนีทั้งหมด

    รายงานสุขภาพคนไทย

    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 

    เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

    โทรศัพท์ 0-2441-0201-4  ต่อ 507  โทรสาร 0-2441-5221

    Email:  thaihealthreport.th@gmail.com

    © 2014 by Thai Health Report