พิการแต่กำเนิด อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุ เป็นสาเหตุความพิการที่สำคัญที่สุด การสำรวจความพิการและภาวะทุพพลภาพของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2544 พบว่า ผู้มีความพิการ มีร้อยละ 1.7 โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีอัตราคงที่
อัตราผู้มีความพิการที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทจะมากกว่าคนในเมืองเท่าตัว (ร้อยละ 2.1 และ 1.0) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราสูงสุด (ร้อยละ 2.4) ตามด้วยภาคใต้ เหนือ กลางและ กรุงเทพฯ ตามลำดับ (ร้อยละ 1.9, 1.8, 1.1 และ 0.7) ชายมีอัตราความพิการมากกว่าหญิงทุกภาคยกเว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เมื่อดูจากกลุ่มอายุพบว่าผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปมีความพิการกว่ากลุ่มอายุอื่นๆสองเท่าตัว ร้อยละ 93 ของผู้มีความพิการมีการศึกษาไม่เกินประถมศึกษา และร้อยละ 71.5 เป็นผู้ไม่มีอาชีพหรือไม่มีงานทำ สำหรับผู้มีงานทำร้อยละ 60 มีอาชีพทางด้านเกษตร ในกลุ่มผู้มีความพิการที่มีทำงานนั้นประมาณครึ่งหนึ่งประกอบอาชีพที่เป็นธุรกิจส่วนตัว ตามด้วยการช่วยธุรกิจในครัวเรือน มีเพียงร้อยละ 19.4 เท่านั้นที่เป็นลูกจ้างเอกชน
ผู้มีความพิการแยกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ผู้ที่มีความพิการแต่กำเนิดและผู้ที่เกิดความพิการขึ้นภายหลัง โดยร้อยละ 30 ของผู้มีความพิการเป็นโดยกำเนิดและหญิงมากกว่าชาย (ร้อยละ 18 ) เมื่อดูจากอายุเมื่อพิการพบว่าความพิการที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นจะพบมากที่สุดในชายวัยทำงาน (อายุ 25-59 ปี) ตามด้วยกลุ่มสูงอายุ วัยรุ่นและเด็กก่อนวัยเรียน ในขณะที่ของผู้หญิงจะเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุดตามด้วยวัยทำงานและเด็กวัยก่อนเรียน
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆเป็นสาเหตุสำคัญนำไปสู่ความพิการ โดยความพิการที่เกิดภายหลังอันดับต้นคืออัมพาต/อัมพฤกษ์ ตามด้วยหูตึง/หูหนวก
เมาแล้วขับ ไม่คาดเข็มขัด และไม่สวมหมวกนิรภัย
ยังเป็นปัญหาสำคัญของอุบัติเหตุจราจร