อุบัติเหตุจราจร
เมาแล้วขับ ไม่คาดเข็มขัด และไม่สวมหมวกนิรภัย
ยังเป็นปัญหาสำคัญของอุบัติเหตุจราจร
อุบัติเหตุเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยบาดเจ็บ พิการ และตายก่อนวัยอันควร แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมเมือง การสำรวจอนามัยและสวัสดิการปี 2544 พบว่า 3 ใน 4 ของผู้ชาย1 ใน 2 ของผู้หญิงขับรถ โดยทั้งหญิงและชายนิยมขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 87 และร้อยละ 71 สถิติการจดทะเบียนรถพบว่าจำนวนรถได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 17.6 ล้านคันในปี 2540 เป็น 24.5 ล้านคันในปี 2545 หรือมีรถเพิ่มขึ้นปีละ 1.15 ล้านคัน ขณะที่ถนนเพิ่มขึ้นปีละไม่ถึง 1,500 กิโลเมตร(อัตราเพิ่ม 16%)
การจราจรที่มากขึ้นย่อมส่งผลให้อุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นเป็นเงาตัว ในปี 2545 สถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่ได้รับแจ้งความทั้งสิ้นจำนวน 91,623 ครั้ง 1 ใน 3 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดในภาคกลาง ร้อยละ 80 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับผู้ชาย กลุ่มอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-29 ปีตามด้วยกลุ่มอายุ 30-49 ปี สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่อุบัติเหตุมากที่สุดคือ ร้อยละ 25 ขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ร้อยละ 15 ตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 9 แซงรถผิด อุบัติเหตุในกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากที่สุดคิดเป็นอัตรา8 ต่อประชากร 100,000 คน ตามด้วยภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงใหม่ กระบี่ และนนทบุรี ตามลำดับ การสวมหมวกนิรภัยหรือคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรของคนไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำแม้จะมีความพยายามรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุจราจรโดยหลายหน่วยงานก็ตาม