รถเข็นอัจฉริยะช่วยคนพิการ
และคนสูงอายุ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้พิการและผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย โดยเฉพาะรถเข็นที่มีความจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้พิการและผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีอิสระมากขึ้น สำหรับปีนี้เป็นที่น่ายินดีเมื่อคนไทยสามารถประดิษฐ์รถเข็นไฮเทคที่ทำให้คนพิการ และผู้สูงอายุได้มีโอกาสได้ใช้รถเข็นอัจฉริยะเคลื่อนที่ไปไหนมาไนได้สะดวกยิ่งกว่าเดิม
ผลงานชิ้นนี้เป็นฝีมือการพัฒนาของทีมนักประดิษฐ์ จากศูนย์บริการและพัฒนาวิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ได้พัฒนารถเข็นไฮเทคนี้มาตั้งแต่ปี 2545 และได้รับรางวัลชมเชยสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2549 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ความก้าวหน้าในการป้องกัน
และควบคุมโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย
ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์เอชห้าเอ็นหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา สถานการณ์ไข้หวัดนกได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก ครอบคลุมประเทศต่างๆ มากกว่า 60 ประเทศ และมีผู้ป่วยจากการติดเชื้อไข้หวัดนก 277 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 167 ราย (ธันวาคม 2546- มีนาคม 2550)
การคุมคามของเชื้อไข้หวัดนกในระยะนี้ถือว่าเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะที่มีการติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คนบ้างแล้ว มีการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกาว่า หากเกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนกในระยะที่ 4 ขึ้นมา หรือเป็นระยะเชื้อหวัดนกมีการกลายพันธุ์ จะทำให้มีการระบาดจากคนสู่คนง่ายมากยิ่งขึ้น อาจทำให้มีผู้ป่วยทั่วโลกมากกว่า 62 ล้านคน และต้องใช้เวลานานนับหลายเดือน จึงจะหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ได้ โดยผลกระทบส่วนใหญ่จะตกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจน
การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกใกล้สำเร็จ
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย และนับวันยิ่งพบผู้ป่วยมากขื้นเรื่อยๆ บางปีพบผู้ป่วยสูงถึงแสนคน ปัจจุบันแม้จะพบผู้ป่วยไม่มากเท่ากับหลายปีก่อน แต่ก็ได้ทำให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจมากมาย ในปี 2549 พบผู้ป่วย 42,456 คน เสียชีวิต 59 คน คาดประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจอยู่ระหว่าง 2,000 – 10,000 ล้านบาท วัคซีนจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรคนี้
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังดำเนินการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละประเทศ ในประเทศไทยเองมีหน่วยปฏิบัติการเทคโนชีวภาพทางการแพทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทย์ศิรราชพยาบาล และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้พยายามคิดค้นนวัตกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นเวลาหลายสิบปี นับตั้งแต่ค้นคว้าจนพบความรู้ใหม่ พัฒนาเทคนิควิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อความแม่นยำและรวดเร็ว ตลอดจนพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สามารถจะนำมาใช้กับคนไทยในระยะเวลาอีกไม่นานนี้
นักศึกษาไทยชนะเลิศการแข่งขัน
สร้างหุ่นยนต์กู้ภัย “อินดีเพนเดนท์”ในเวทีระดับโลก
เมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกถลิ่ม ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือภัยพิบัติรุนแรง ลำพังเจ้าหน้าที่กู้ภัยเองต้องระมัดระวังตนเองในการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ติดอยู่ในซากปรักหักพัง ทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกและเข้าไปค้นหาผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในซากปรักหักพัง และช่วยเหลือได้ทันท่วงที หุ่นยนต์กู้ภัยที่มีความสามารถยิ่งกว่ามนุษย์ จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์ดังกล่าว
ในการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์กู้ภัยโลก “เวิลด์ โรโบคัพ เรสคิว 2006” เมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยระดับนานาชาติ จัดโดย เดอะโรโบรัพ เฟเดอเรชั่น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนงานให้มีการประดิษฐ์คิดค้นการใช้เทคโนโลยีสร้างหุ่นยนต์กู้ภัย นับเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยอย่างยิ่ง เมื่อนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนี้ โดยสามารถเอาชนะเยอรมัน ในฐานะเจ้าภาพ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี และอีก 10 กว่าประเทศทั่วโลกได้ นับเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาไทยสามารถยืนเป็นเบอร์หนึ่งในการแข่งขันบนเวทีโลกได้สำเร็จ และกิจกรรมเพื่อประโยชน์สังคมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ฝันอยากให้เด็กไทย นอกจากจะให้มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการสร้างความมีชื่อเสียงในด้านความก้าวหน้าเทคโนโลยีให้สังคมโลกได้รับรู้อีกด้วย
ความก้าวหน้าในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของประเทศไทย
ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์เอชห้าเอ็นหนึ่งตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา สถานการณ์ไข้หวัดนกได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก ครอบคลุมประเทศต่างๆมากกว่า 60 ประเทศ และมีผู้ป่วยจากการติดเชื้อไข้หวัดนก 277 ราย มีผูเ้ สียชีวิตรวม 167 ราย
นักศึกษาไทยชนะเลิศการแข่งขัน
สร้างหุ่นยนต์กู้ภัย “อินดีเพนเดนท์”
ในเวทีระดับโลก
เมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือภัยพิบัติรุนแรง ลำพังเจ้าหน้าที่กู้ภัยเองต้องระมัดระวังตนเองในการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ติดอยู่ในซากปรักหักพัง ทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกและเข้าไปค้นหาผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังและช่วยเหลือได้ทันท่วงที